f
title
แขวงทางหลวงเพชรบุรี
phetchaburi highways district.
วิสัยทัศน์ : ระบบทางหลวงที่สะดวกปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
 
ข่าวสารทางหลวง
title
รมว. คมนาคม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารกรมทางหลวง เน้นย้ำการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ พร้อมเร่งรัดการเปิดใช้มอเตอร์เวย์หมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา

วันนี้ (11 ตุลาคม 2566) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และคณะฯ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการบริหารงานให้แก่กรมทางหลวง โดยมีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง และคณะผู้บริหารกรมทางหลวง ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมมนัส คอวนิช กรมทางหลวง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการบริหารงานให้แก่กรมทางหลวง “คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงคมนาคมและยุทธศาสตร์สำคัญ ๆ ของประเทศ โดยในส่วนของภารกิจกรมทางหลวง ได้มอบนโยบายในด้านการพัฒนาโครงข่ายทางถนนที่ส่งเสริมระบบการเกษตร การท่องเที่ยว การค้า การลงทุนแหล่งอุตสาหกรรม การลดอุบัติเหตุทางถนน และการบูรณาการคมนาคมขนส่งในทุกมิติในการเชื่อมต่อการเดินทางกับ ท่าอากาศยานระบบ ล้อ-ราง-เรือสำหรับการดำเนินการของกรมทางหลวงที่จัดเป็นแผนเร่งด่วนคือ โครงการที่มีสัญญาอยู่แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจำเป็นต้องเร่งรัด กำชับ ติดตาม ให้ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อเปิดให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้โดยเร็วได้แก่ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา, โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี, โครงการทางยกระดับบนถนนพระราม 2 และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว, โครงการพัฒนาคูน้ำริมถนนวิภาวดีรังสิตและโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5ในส่วนโครงการระยะกลาง ระยะยาว ที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป อาทิ โครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมืองสายใหม่ที่ต้องเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้มีการลงนามสัญญาก่อสร้างได้ทันภายในรัฐบาลนี้ ได้แก่ โครงการส่วนต่อขยายทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ หรือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 สายรังสิต – บางปะอิน, การปรับปรุงศักยภาพที่แยกบางปะอินซึ่งเป็นจุดตัดของทางหลวงและทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายสำคัญหลายสาย, โครงการปรับปรุงถนนวงแหวนรอบนอกหมายเลข 9 ฝั่งตะวันตก, โครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพรอบที่ 3 ฝั่งตะวันออก ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวน MR10 ในอนาคต, โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข8 สายนครปฐม – ชะอำ และโครงการติดตามผลการศึกษา (MR – MAP) MR2 ช่วงแหลมฉบัง – นครราชสีมา รวมทั้งจะดำเนินการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บเงินบนมอเตอร์เวย์ด้วยนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวงพร้อมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของกรมทางหลวงจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเดินทางมีความคล่องตัวและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นทั้งคนและการขนส่งสินค้า นอกจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่แล้ว กรมทางหลวงยังได้มีกิจกรรมก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยและการลดอุบัติเหตุบนทางหลวง ได้แก่ การปรับปรุงบริเวณจุดเสี่ยง, การปรับปรุงทางแยกวัดใจต่าง ๆ, การปรับปรุงตีเส้นจราจร, การปรับเปลี่ยนป้าย, การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง, การติดตั้งราวกันอันตรายข้างทาง และการปรับปรุงผิวจราจรด้วย 11 ตุลาคม 2566ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง
title
สรุปผลการจำหน่ายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการที่พักริมทาง (Rest Area) บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 ของกรมทางหลวง เอกชนเตรียมยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนฯ ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้

สรุปผลการจำหน่ายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการที่พักริมทาง (Rest Area) บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 ของกรมทางหลวง เอกชนเตรียมยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนฯ ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ กรมทางหลวงปิดการจำหน่ายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการที่พักริมทาง   (Rest Area) บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 เป็นที่เรียบร้อย โดยมีภาคธุรกิจเอกชนจำนวนมากให้ความสนใจเข้าร่วมซื้อเอกสารฯ ดังกล่าว กำหนดยื่นข้อเสนอ 22 พฤศจิกายน 2566 และคาดว่าจะสรุปผลการคัดเลือกเอกชนต้นปี 67           นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวงได้ออกประกาศเชิญชวนโครงการร่วมลงทุนสำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วยโครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา และโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง และได้จำหน่ายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP) ของทั้ง 2 โครงการพร้อมกัน ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ถึง 22 กันยายน 2566 ที่ผ่านมานั้น ผลปรากฎว่ามีเอกชนจำนวนมากให้ความสนใจซื้อเอกสารฯ ดังกล่าว เพื่อนำไปศึกษารายละเอียดสำหรับการเตรียมจัดทำข้อเสนอ การร่วมลงทุน สรุปได้ดังนี้           โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา มีผู้สนใจซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด มหาชน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท กัลฟ์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง มีผู้สนใจซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด บริษัท กัลฟ์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ขั้นตอนต่อไป กรมทางหลวงได้กำหนดให้มีการจัดประชุมชี้แจงโครงการ (Pre-Bidding Meeting)   ในวันที่ 27 กันยายน 2566 เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ ที่เอกชนควรทราบ พร้อมจัดกิจกรรมเยี่ยมชมโครงการ (Site Visit) ในวันที่ 4 ตุลาคม 2566 และกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 โดยคาดว่าจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนแล้วเสร็จในต้นปี 2567 พร้อมลงนามสัญญาและเริ่มต้นก่อสร้างช่วงกลางปี 2567 เพื่อเปิดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการบางส่วนในปี 2568 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2569 ต่อไป สำหรับการดำเนินงานโครงการฯ จะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยกรมทางหลวงจะส่งมอบพื้นที่โครงการฯ ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างที่พักริมทางและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงมีหน้าที่บริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาโครงการฯ ตลอดจนเป็นผู้มีสิทธิ์ในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรายได้ของโครงการฯ โดยต้องชำระค่าตอบแทนให้กรมทางหลวงตามเงื่อนไขที่กำหนด ภายในระยะเวลาดำเนินโครงการ 32 ปี แบ่งเป็นงาน 2 ระยะ ดังนี้  ระยะที่ 1 การออกแบบและก่อสร้าง เอกชนมีหน้าที่จัดหาแหล่งเงินทุน ออกแบบและก่อสร้างองค์ประกอบและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ระยะที่ 2 การดำเนินงานและบำรุงรักษา เอกชนมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษา รวมถึงการบริหารจัดการโครงการฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี
title
กรมทางหลวง รับมอบรางวัล “คนต้นแบบคมนาคม ประจำปี 2565 – 2566” เพื่อเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม

กรมทางหลวง รับมอบรางวัล “คนต้นแบบคมนาคม ประจำปี 2565 – 2566” เพื่อเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมกรมทางหลวง โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ แจ้งว่า กรมทางหลวงได้รับมอบรางวัล “คนต้นแบบคมนาคม ประจำปี 2565 - 2566” โดยมี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรและโล่รางวัลให้แก่บุคลากรในสังกัดที่เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ณ อาคารสโมสรและหอประชุม ชั้น 3 กระทรวงคมนาคม โดยมีผู้บริหารกรมทางหลวงได้รับรางวัล ดังนี้- คนต้นแบบคมนาคม ประจำปี 2565 ได้แก่ นายไพฑูรย์ พงษ์ชวลิต รองอธิบดีกรมทางหลวง ฝ่ายดำเนินงาน- คนต้นแบบคมนาคม ประจำปี 2566 ได้แก่ นายสิทธิชัย บุญสะอาด วิศวกรใหญ่ด้านสำรวจและออกแบบสำหรับพิธีมอบรางวัลคนต้นแบบคมนาคม จัดโดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์หลักในการยกย่องเชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรกระทรวงคมนาคมที่ประพฤติตนและปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีคุณธรรม รวมทั้งเผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริตและด้านส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ให้เป็นที่รับรู้เพื่อเป็นต้นแบบในการประพฤติตนและปฏิบัติงานที่ดีต่อไป